Statement

การประชุมปรึกษาหารือว่าด้วยเรื่องการอภิบาลดูแลสรรพสิ่งทรงสร้างและพันธกิจข่าวประเสริฐ (The Lausanne Global Consultation on Creation Care and the Gospel)

ข้อเรียกร้องสู่การปฏิบัติ (Call to Action)

ณ เซนต์แอน จาไมกา พฤศจิกายน 2013

บทนำ

การประชุมปรึกษาหารือว่าด้วยเรื่องการอภิบาลดูแลสรรพสิ่งทรงสร้างและพันธกิจข่าวประเสริฐ (The Lausanne Global Consultation on the Creation Care and the Gospel) จัดขึ้นวันที่ 29 ตุลาคม ถึง 2 พฤศจิกายน ค ศ. 2012 ณ เมืองเซนต์แอน ประเทศจาไมกา เพื่อกำหนดกรอบแนวทางต่อจาก คำปฏิญญาเมืองเคปทาวน์ (The Cape Town Commitment) องค์ประชุมประกอบด้วยนักศาสนศาสตร์ ผู้นำคริสตจักร นักวิทยาศาสตร์ และผู้ปฏิบัติการด้านการดูแลสรรพสิ่งทรงสร้าง ทั้งชายและหญิงรวม 57 คน จาก 26 ประเทศ ทั้งจากหมู่เกาะแคริบเบียน จากทวีปอาฟริกา ทวีปเอเชีย ทวีปอเมริกาเหนือและใต้ ประเทศทั้งหลายในมหาสมุทรแปซิฟิค (รวม 14 ประเทศ) และประเทศในทวีปยุโรป
การประชุมหารือในนามของโลซานน์มูฟเมนท์นี้ เป็นความร่วมมือกับ The World Evangelical Alliance    จัดขึ้นในประเทศเจ้าภาพที่ได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ลือชื่อว่าสวยงามตามธรรมชาติที่สุดในภูมิภาคนี้ ซึ่งเราได้เพลิดเพลินชื่นชม พินิจความมหัศจรรย์แห่งการทรงเนรมิตสร้างของพระเจ้า เรานำข้อพระคัมภีร์หลายบทหลายตอนมาใช้พิจารณา ใคร่ครวญไตร่ตรอง  ทั้งจากพระธรรมปฐมกาลบทที่ 1-3 พระธรรมสดุดี บทที่ 8และพระธรรมโรม บทที่ 8 เป็นหัวข้อในการอธิษฐาน ในการประชุมปรึกษากันวางกรอบแนวคิด ที่ว่า “โลกของพระเจ้าพระคำของพระเจ้าและพระราชกิจของพระเจ้า”  ก่อนการประชุมของเรา ก็มีเหตุการณ์พายุเฮอริเคนแซนดี้พัดทำลายสร้างความเสียหายแก่ประเทศในหมู่เกาะแคริบเบียน ในเวลาใกล้เคียงต่อมาพายุได้เคลื่อนไปประเทศแถบอเมริกาเหนือ ก่อเกิดภัยพิบัติ การสูญเสียชีวิต และทรัพย์สิน เป็นข้อย้ำเตือนให้เราตระหนักยิ่งถึงความเร่งด่วน ความสำคัญกับภาระกิจอันไม่สิ้นสุด แห่งการประชุมหารือนี้

หลักการสำคัญสองประการ (The Two Major Convictions)

จากการหารือ การศึกษาและการอธิษฐานร่วมกัน เราได้ข้อสรุปดังต่อไปนี้

-การพิทักษ์อภิบาลสรรพสิ่งทรงสร้าง เป็นส่วนหนึ่งของพระกิตติคุณอันว่าด้วย ความเป็นพระเจ้าผู้ทรงครอบครองสูงสุดขององค์พระเยซูคริสต์ (CTC I. 7.A)

จากข้อความจริงและการทรงนำ เมื่อเราศึกษาพระคำของพระเจ้า ซึ่งเป็นแผนการดั้งเดิมและพระดำริพระบัญชาของพระองค์ ให้เราดูและรักษาสรรพสิ่งแห่งโลกนี้ นั่นคือเนื้อหาเรื่องราวแห่งการคืนพระชนม์และเป็นความจริงที่ถูกต้องว่า พระเยซูทรงทำให้สรรพสิ่งได้กลับคืนดีกับพระเจ้าโดยทางพระองค์  เราจึงขอย้ำว่าการดูแลสรรพสิ่งเป็นความสำคัญที่เราต้องรวมเข้ากับการตอบสนองพระกิตติคุณ คือการประกาศและการลงมือปฏิบัติตามข่าวประเสริฐที่พระเจ้าทรงกระทำและได้สำเร็จแล้วนั้น อันเป็นการช่วยโลกให้รอด

เพราะนอกจากที่พระคัมภีร์เน้นเรื่องนี้แล้ว สิ่งนี้ยังเป็นส่วนที่สำคัญมากของพันธกิจของเรา และเป็นการนมัสการสรรเสริญพระเจ้าอย่างแท้จริง ต่อแผนการไถ่อันอัศจรรย์ของพระองค์โดยทางพระเยซูคริสต์  ดังนั้นพันธกิจแห่งการคืนดีที่เรามีส่วนร่วมด้วยนี้ จึงเป็นสิ่งน่าชื่นชมยินดี มีความหวังใจ และเราจะดูแลอภิบาลโลกและสรรพสิ่งทรงสร้างนี้ ไม่ว่าสถานการณ์จะอยู่ในขั้นวิกฤติหรือไม่ก็ตาม

-เรากำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตเร่งด่วนที่ต้องการแก้ไขฉับพลันในชั่วอายุของเรา เพราะเหตุว่าการทำลายสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นหลายด้าน เช่นการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ สืบเนื่องจากมลภาวะ การทำลายป่าไม้ การสูญเสียแหล่งต้นน้ำ มลพิษต่างๆ การสูญเสียสมดุลย์ทางชีวภาพ เหล่านี้มีผลก่อเกิดความอดอยากยากจนในประเทศต่างๆของโลก ระบบนิเวศน์เปลี่ยนแปลง และการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์หลากหลายพันธุ์  เราจึงไม่สามารถเพิกเฉยปล่อยปละละเลย หรือประชุมปรืกษาหารือไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุดได้อีกต่อไป  ความรักที่มีต่อพระเจ้า ต่อเพื่อนบ้านเพื่อนมนุษย์ ต่อสรรพสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้าง รวมทั้งความปรารถนาที่จะเห็นความยุติธรรม เป็นเหตุผลักดันให้เราต้อง “รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างเร่งด่วน และด้วยการใช้หลักพระวจนะของพระเจ้า” (CTC I.7.A)

ข้อเรียกร้องสู่การปฏิบัติ (Our Call for Action)

ด้วยหลักการสองประการดังกล่าวข้างต้น เราจึงขอเรียกร้องให้คริสตจักรทั่วโลกตอบสนอง อย่างทั่วถ้วนสิ้นเชิง และอย่างสัตย์ซื่อ ในการดูแลอภิบาลสรรพสิ่งทรงสร้างของพระเจ้า สิ่งนี้แสดงออกถึงความเชื่อ ความหวังของเราว่า  พระคริสต์มีฤทธิ์เดชอำนาจ สามารถเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่างได้

เราขอเรียกร้องกลุ่มโลซานน์มูฟเมนท์ ผู้นำคริสตจักรทั้งหลาย องค์กรข่าวประเสริฐของประเทศ และคริสตจักรท้องถิ่นทุกแห่งให้ตอบสนองอย่างเร่งด่วน ทั้งในระดับส่วนตัว ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

เราขอเรียกร้องอย่างเฉพาะเจาะจง ให้มี

1. การเปลี่ยนวิถีชีวิตไปสู่ความเรียบง่ายพอเพียง
เราตระหนักว่าวิกฤติของเราเกิดเนื่องด้วยคนจำนวนพันล้าน ดำเนินชีวิตอยู่อย่างสุขสบายเกินพอดี  เราเน้นข้อเสนอให้บุคคลดำเนินชีวิตเรียบง่ายสมถะ ตามข้อตกลงของโลซานน์มูฟเมนท์ (Lausanne Occasional Paper #20) และเรียกร้องชุมชนทั่วโลก ปฏิบัติตามนี้ทั้งระดับส่วนตัว ส่วนรวมในการใช้ชีวิตอยู่อย่างรู้จักความพอเพียง เหมาะสมสอดคล้องกับสิ่งที่พระเจ้าได้ประทานให้แก่โลกของเรา อีกทั้งร่วมมือกันในขั้นต่อไป ที่จะฟื้นฟูป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อมกับสรรพสิ่งในโลกไว้ ด้วยการแบ่งปันทรัพยากรที่มีอยู่อย่างอุดมในโลกใบนี้ให้กันและกันอย่างเท่าเทียม

2. การปฏิรูปศาสนศาสตร์
เราต้องการปรับเปลี่ยนแนวทางที่เฉพาะเจาะจง 4 ด้านดังต่อไปนี้

  • ศาสนศาสตร์ที่นำแนวคิดเรื่องการดูแลสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง มาสู่แนวทางปฏิบัติ เนื้อหาที่จะสอนในโรงเรียนศาสนศาสตร์ วิทยาลัยพระคัมภีร์ เพื่อช่วยอบรมบ่มสอนครูอาจารย์ ศิษยาภิบาล และเพื่อที่เขาจะสั่งสอนส่งต่อถึงสมาชิกคริสตจักรให้ลงมือกระทำได้ต่อๆไป
  • ศาสนศาสตร์ที่มุ่งเน้นความหมายที่แท้จริงของมนุษยชาติ โดยมีรากฐานหลักยึดอยู่บนเรื่องการทรงสร้างและสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง การเน้นว่ามนุษย์มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงและเจาะจงต่อโลก
  • ศาสนศาสตร์อันสอดคล้องกับคำสอนพระคัมภีร์ เรื่องการอภิบาลดูแลสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง แต่ท้าทายทฤษฎีเศรษฐศาสตร์แนวเดิมอันเป็นที่นิยมยึดถืออยู่ในปัจจุบัน
  • ศาสนศาสตร์ที่ตั้งอยู่บนความหวังใจในองค์พระคริสต์ และการเสด็จกลับมาของพระองค์ เมื่อรับคำสอนนี้ เราจะมีแรงผลักดันบรรดาลใจ รักษาดูแลสรรพสิ่งที่ทรงสร้างของพระเจ้า

3. เราเรียกร้องให้มีผู้นำจากประเทศในซีกโลกใต้
เนื่องจากประเทศในซีกโลกใต้ได้รับผลกระทบจากวิกฤตสิ่งแวดล้อมมากที่สุด เราจึงต้องการให้ผู้นำเหล่านี้มีโอกาสนำเสนอ เรียกร้อง และมีส่วนร่วมในเรื่องการอภิบาลดูแลสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง ตลอดจนนำไปปฏิบัติ เราซึ่งเป็นสมาชิกของการประชุมนี้ ขอเรียกร้องให้คริสตจักรในซีกโลกใต้มาเป็นผู้นำเรา ช่วยเหลือเราในการวางกรอบการดำเนินงาน เพื่อความก้าวหน้าของงานประกาศพระกิตติคุณ ควบคู่กับงานอภิบาลดูแลสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง

4. ให้มีการเสาะหาระดมพลคริสตจักรทั้งหลาย และกลุ่มแนวร่วมในทุกภาคส่วนของสังคม
การระดมคนและเสาะหาแนวร่วมเป็นสิ่งที่ต้องทำในชุมชนทุกขนาด ทุกระดับ แม้แต่กลุ่มที่เป็นคนชายขอบของสังคม
กลุ่มที่สามารถส่งเสริมศักยภาพความสามารถของสตรี เด็ก และเยาวชน กลุ่มชาติพันธุ์น้อยใหญ่ในประเทศ รวมถึงบุคคลหลายหลากอาชีพ ตลอดจนนักวิชาการ ผู้ชำนัญสาขาต่างๆอันมีประสบการณ์สูง มีความชำนาญเฉพาะทาง การเกี่ยวข้องร่วมมือกันต้องขยายขอบเขตอย่างทั่วถึงเสมอกัน มีการปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ มีความเร่งด่วน สร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เกิดขึ้น ทั้งจากผู้รับผิดชอบที่มาจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคสังคมในภูมิภาค และจากภาควิชาการ

5. ให้มีการประกาศพระกิตติคุณที่มีเนื้อหาด้านการดูแลอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไปยังชนกลุ่มน้อยที่ยังเข้าไม่ถึง
พวกเราที่เข้าร่วมประชุมกลุ่มโลซานน์มูฟเมนท์ที่ผ่านมา ขอเรียกร้องให้มีการประกาศพระกิตติคุณโลก และเชื่อว่าปัญหาทั้งหลายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเป็นช่องทางดียิ่งที่จะแสดงความรักของพระเยซูคริสต์ และมีการบุกเบิกคริสตจักรในกลุ่มชนที่เรายังเข้าไม่ถึง เพื่อรวบรวมทุกคนในยุคสมัยของเราเข้ามาร่วมงานกัน (CTC II.D.1.B)

6. ให้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินการทั้งสิ้นในการเรื่องการเผชิญวิกฤตภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง
เพื่อให้สอดคล้องต้องกันกับ คำปฏิญญาณที่เมืองเคปทาวน์ (The Cape Town Commitment) ที่ว่า “การแก้ไขปัญหาวิกฤตภูมิอากาศโลกอย่างเร่งด่วนและอย่างจริงจัง” จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญแต่เฉพาะ “พวกประเทศยากจนทั้งหลายในโลก” (CTC II.D.1.B)
เรา เรียกร้องให้ลงมือปฏิบัติการลดการปล่อยก๊าซที่มีผลก่อเกิดปฏิกิริยา เรือนกระจก เรียกร้องให้มีการสร้างชุมชนที่สามารถฟื้นฟู ปรับตัว รับมือ ต่อสภาพการณ์ได้
เราเข้าใจว่าการกระทำเช่นนี้เป็นการปฏิบัติตามพระบัญชาของพระเยซูคริสต์ ในการปฏิเสธตนเอง และรับเอากางเขนของตนติดตามพระองค์

7. ให้มีหลักในการผลิตอาหารอย่างยั่งยืน
ด้วย เหตุที่ว่า เราเป็นหนี้พระเจ้าผู้ทรงประทานการเลี้ยงดูชีวิต ทำให้เราเข้าใจว่า เราต้องเป็นผู้รักษาดูแลสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง เราจึงชักชวนให้ใช้หลักการในการกสิกรรมที่ยั่งยืน ถ่ายทอด สืบสานต่อไปได้ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในการผลิตอาหารทุกรูปแบบ ทั้งการปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร การปศุสัตว์ การทำประมง และวิธีการแบบอื่นๆ  เพื่อมุ่งมั่นให้ใช้วิถีการผลิตที่อนุรักษ์แบบดั้งเดิมไว้

8. ให้มีหลักเศรษฐกิจที่สอดคล้องสัมพันธ์กับโลกที่ทรงสร้างของพระเจ้า
เรา เรียกร้องให้มีนโยบายเพื่อผดุงไว้ซึ่งการรักษาความสมดุลย์ของสิ่งแวดล้อมใน โลกที่พระเจ้าทรงสร้าง ในหัวข้อดังต่อไปนี้ได้แก่ แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อความกินดีอยู่ดี การผลิตพลังงาน การจัดการแหล่งน้ำต้นทางและปลายทาง การขนส่ง การสาธารณสุข การวางแผนพัฒนาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในชนบท และเมืองหลวง การกำหนดวิถีทางการอุปโภคและบริโภคส่วนตัว จนถึงภาคอุตสาหกรรม

9. ให้มีการแสดงออกถึงความใส่ใจเรื่องการดูแลสรรพสิ่งที่ทรงสร้างในระดับท้องถิ่น
ซึ่งช่วยรักษาและฟื้นฟูให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพ เรายกย่องโครงการดังกล่าวนี้ รวมทั้งการกระทำใดๆที่แม้จะดูเป็น “ขั้นเล็กน้อย” หรือเป็น “ปฏิบัติการเชิงสัญลักษณ์” ที่เป็นของคริสตจักรทั่วโลก ประกาศความเป็นพระเจ้าผู้ทรงครอบครองเหนือสรรพสิ่งทั้งหลายทางพระเยซูคริสต์ให้บังเกิดผล

10. ให้มีการเป็นตัวแทนประกาศการคืนดีและการเยียวยารักษาให้หาย
เราเรียกร้องคริสเตียนแต่ละคนและส่วนรวมในฐานะพระกายพระคริสต์ คือคริสตจักรให้กล้า “กล้ากล่าวความจริงต่อผู้มีอำนาจ” ด้วยการเป็นตัวแทน และใช้กฎหมาย เพื่อว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายสาธารณะกับการปฏิบัติของส่วนบุคคล ไปในทางสนับสนุนการดูแลรักษาสรรพสิ่งที่พระเจ้าทรงสร้างให้มากขึ้น ทั้งยังให้มีการช่วยเหลือชุมชนและบุคคลเหล่านั้นที่ได้รับผลกระทบ สูญเสีย อันเนื่องจากภัยพิบัติ ยิ่งกว่านั้น เราเรียกร้องให้คริสตจักร “ประกาศสันติสุขของพระเยซูคริสต์” ในชุมชนที่ร้าวฉาน แตกแยก ผลเนื่องมาจากความขัดแย้งเรื่องสิ่งแวดล้อม และให้คริสตจักรระดมเร่งหาผู้ที่มีความชำนาญการแก้ไขข้อพิพาท อีกทั้งรักษาไว้ซึ่งความเชื่อที่ถูกต้องในหลักการนี้ไว้ โดยมีท่าทีที่ถ่อมใจ

ข้อเรียกร้องสู่การอธิษฐาน

ข้อ เรียกร้องของเราตั้งอยู่บนการชักชวนให้มาอธิษฐานร่วมกันอย่างตั้งใจ เอาจริงเอาจัง อย่างสม่ำเสมอ ด้วยตระหนักชัด และเข้าใจจริงว่า ทั้งหมดทั้งมวลนี้ เป็นการต่อสู้ทางจิตวิญญาณ
ในหมู่คริสเตียนหลายคน เราควรเริ่มต้นด้วยการอธิษฐานสารภาพสำนึกตนว่า เราได้ล้มเหลวเรื่องการรักษาดูแลสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง และเป็นความล้มเหลวที่ว่า เราไม่ได้เป็นผู้นำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแก้ไขปัญหาทั้งหลาย ทั้งในระดับส่วนตัวและในระดับสถาบันองค์กร เมื่อเราได้สัมผัสความกรุณาและพระเมตตาของพระเจ้าโดยทางพระเยซูคริสต์ และผ่านทางพระวิญญาณบริสุทธิ์ ทั้งด้วยความหวังใจในการไถ่ที่สมบูรณ์ เราจึงอธิษฐานด้วยความมั่นใจว่า พระเจ้าตรีเอกานุภาพทรงอาจสามารถ และจะทรงรักษาแผ่นดินของเรากับผู้ที่อาศัยในแผ่นดินนั้น เพื่อว่าพระองค์จะทรงได้รับเกียรติสูงสุดแห่งพระนามอันหาเทียบเทียมมิได้

เราผู้เข้าร่วมที่ประชุมปรึกษาหารือเรื่องการอภิบาลดูแลสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง ณ จาไมกา ปี 2012 (2012 Jamaica Creation Care Consultation) ใคร่ขอเชิญคริสเตียนและองค์กรคริสเตียนทั่วโลก มาร่วมแสดงเจตนารมณ์ที่พ้องต้องกัน และเจตจำนงร่วมมือกับข้อเรียกร้องของเรา โดยการลงนามรับรองเอกสารนี้ ในฐานะบุคคล หรือฐานะตัวแทนขององค์กร สถาบัน หรือคริสตจักร และหน่วยงานเกี่ยวข้องกับคริสตจักร

  • สำหรับการลงชื่อในนามบุคคล กรุณาเข้าในเว็บไซท์ และอ่านวิธีการตามคำแนะนำ https://lausanne.org/creationcare
  • สำหรับองค์กรและสถาบัน โปรดส่งจดหมายหรืออีเมล์ ลงนามผู้นำหน่วยงาน ประธานกรรมการ หรือตัวแทนผู้รับมอบอำนาจ มาที่ [email protected] (หากมีข้อสอบถามใดเกี่ยวกับการลงนามนี้ กรุณาส่งคำถามไปยังที่อยู่อีเมล์เดียวกันนี้)

ข้อ ตกลงนี้รับรองโดย ที่ประชุมแห่งการประชุมปรึกษาหารือว่าด้วยเรื่อง การอภิบาลดูแลสรรพสิ่งที่ทรงสร้าง และพันธกิจข่าวประเสริฐ ณ เซนต์แอน จาไมก้า 9 พฤศจิกายน 2012

Call to Action Writing Team:

Lowell Bliss (USA); Paul Cook (UK); Sara Kaweesa (Uganda); Lawrence Ko (Singapore).

Consultation Senior Leaders:

Ed Brown, Sr. Associate for Creation Care; Las Newman, Lausanne Int. Deputy Director for the Caribbean; Ken Gnanakan, President, Int. Council for Higher Education.

Consultation Participants:

Tyler Amy (US); Premamitra Anandaraja (India); Seth Ken Appiah Kubi (Ghana); Hoi Wen Au Yong (Singa-pore); Tom Baker (UK); Frederic Baudin (France); Colin Bell (UK); David Bennett (US); David Bookless (United Kingdom); Samuel YuTo Chiu (Canada); Paul Cook (UK); Beth Doerr (US); Stan Doerr (US); Lindani Dube (Zim-babwe); Darceuil Duncan (Trinidad and Tobago);  Christopher Elisara (US); Susan Emmerich (US); Samuel Ewell (UK); Naomi Frizzell (US); David Gould (Singa-pore); Peter Illyn (US); James Kalikwembe (Malawi); David Knight (Canada); Andrew Leake (Argentina); Terry LeBlanc (Canada); Jonathan Moo (US); Juliana Morillo (Peru); Osvaldo Munguia (Honduras); Cassien Ndikuriyo (Burundi); Claudio Oliver (Brazil); James Pender (Bangladesh); Mark Pierson (New Zealand); Lalbiakhlui Rokhum (India); Thomas Schirrmacher (Germany); Sally Shaw (Australia); Chris Shore (US); Mgliwe Simdinatome (Togo); Craig Sorley (Kenya); Joel Tembo Vwira (DRC); Efraim Tendero (Philippines); Denise Thompson (Trinidad and Tobago); Stephen Tollestrup (New Zealand); Ruth Valerio (United King-dom); Peter Vander Meulen (US); Jean Valery Vital Herne (Haiti); Barry Wade (Jamaica); Serah Wambua (Kenya); Robert White (UK); Thomas Yaccino (US).